Home » บทความเรื่องน่ารู้ » การเลือกใช้เซนเซอร์วัดอุณหภูมิที่เหมาะสม

การเลือกใช้เซนเซอร์วัดอุณหภูมิที่เหมาะสม

แชร์หน้านี้ Line

        วัดอุณหภูมิที่นิยมถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมมีหลากหลายประเภท การเลือกใช้เซนเซอร์ที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานนอกจากจะสามารถทำให้การวัดมีประสิทธิภาพแล้วยังสามารถช่วยประหยัดต้นทุนในการซ่อมบำรุงอีกด้วย ในวันนี้บริษัท เอเอ็นพี เมโทรโลยี พรีซิชั่น จำกัด จะแนะนำวิธีการเลือกใช้เซนเซอร์วัดอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งรายละเอียดการเลือกซื้อมีปัจจัยต่างๆดังนี้

        1. การเลือกใช้เซนเซอร์วัดอุณหภูมิตามลักณะของจุดที่ต้องการติดตั้ง ลักษณะการติดตั้งของเซนเซอร์นั้นมีผลต่อความยากง่ายของการติดตั้งและการออกแบบเซนเซอร์วัดอุณหภูมิ เช่น หากจุดที่ต้องการวัดเป็นจุดใหม่นอกเหนือจากจุดเดิมที่เครื่องจักรได้ออกแบบมาตั้งแต่ตอนที่ติดตั้ง หากพบว่าจุดที่ต้องการวัดอยู่ลึกเกินกว่าจะเอาเครื่องมือเข้าไปติดตั้งให้เสร็จได้ในเวลาอันรวดเร็ว ก็สามารถใช้เครื่องมือวัดอุณหภูมิประเภทหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องไปสัมผัสกับจุดที่ต้องการวัดโดยตรง ซึ่งเครื่องมือชนิดนั้นในทางหลักการเรียกว่า Non-contact detector ซึ่งเซนเซอร์ชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันในนาม Infrared Thermometer ซึ่งจะมีด้วยกัน 2 ลักษณะตามการใช้งาน กล่าวคือ กรณีที่จุดที่ต้องการวัดนั้นอาจไม่จำเป็นต้องทำการวัดตลอดเวลา สามารถวัดได้เป็นช่วงเวลาสามารถใช้ Infrared Thermometer ในลักษณะแบบพกพา ซึ่งมีขนาดเล็กและสามารถพกพาได้ง่าย และกรณีที่ต้องทำการวัดตลอดเวลา ยังมี Infrared Thermometer ที่สามารถติดตั้งเพื่อวัดค่าตลอดเวลาได้อีกด้วย

        ข้อดีสำหรับ Infrared Thermometer : – เป็นเซนเซอร์ที่สามารถวัดอุณหภูมิได้แม้ในจุดที่วัดได้ลำบาก 

        ข้อเสียสำหรับ Infrared Thermometer : – ความแม่นยำในการวัดเมื่อเทียบกับเซนเซอร์ที่สัมผัสโดยตรงต่ำกว่า – ราคาสูงกว่าเซนเซอร์ที่วัดแบบสัมผัสโดยตรง – ต้องใช้ความรู้และทักษะในการวัดพอสมควรจึงจะได้ผลการวัดที่ถูกต้อง

        2.  ต้องการความถูกต้องและแม่นยำที่สูงที่สุด ในการวัดแต่ละเครื่องมือจะมีเกณฑ์การยอมรับของแต่ละจุดวัด เพื่อที่จะให้สินค้าที่ผลิตมีประสิทธิภาพสูงสุด บางจุดวัดจึงจำเป็นต้องใช้เซนเซอร์วัดอุณหภูมิที่มีความแม่นยำสูงสุด สำหรับเซนเซอร์วัดอุณหภูมิชนิดนี้จะเรียกว่า เซนเซอร์วัดอุณหภูมิแบบ RTD หรือ Resistance Temperature Detectors ซึ่งทำหน้าที่ในการเปลี่ยนค่าความต้านทานตามอุณหภูมิที่วัดได้ เป็นเซนเซอร์ชนิดหนึ่งที่ต้องติดตั้งแบบสัมผัสเท่านั้น ซึ่งความแม่นยำในการวัดค่าอุณหภูมิของเซนเซอร์วัดอุณหภูมิชนิดนี้ถือว่ามีความแม่นยำสูงสุดในเซนเซอร์วัดอุณหภูมิทั้งหมด RTD นั้นมีหลากหลายประเภทให้เลือกใช้งานเช่นกัน เช่น PRTs 25Ω, RTD Pt100, RTD Pt1000 เป็นต้น ที่นิยมใช้งานกันในอุตสาหกรรม คือ RTD Pt100 ซึ่งมีค่าความแม่นยำในการวัดให้เลือกได้อีกแบ่งตามความสามารถของเซนเซอร์ได้แก่ Class AA, Class A, Class B ซึ่งจะกล่าวต่อไปในเรื่อง เซนเซอร์วัดอุณหภูมิชนิด RTD

        ข้อดีสำหรับเซนเซอร์วัดอุณหภูมิแบบ RTD : – เป็นเซนเซอร์ที่มีความแม่นยำในการวัดที่สูงมากเมื่อเทียบกับเซนเซอร์ทั่วไปที่ใช้ในอุตสาหกรรม – สามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลายตามลักษณะการใช้งานได้ – ราคาไม่สูงมาก

        ข้อเสียสำหรับเซนเซอร์วัดอุณหภูมิแบบ RTD : ย่านการใช้งานแคบเมื่อเทียบกับเซนเซอร์วัดอุณหภูมิชนิดอื่น

        3. ต้องการวัด ณ จุดวัดที่มีอุณหภูมิสูงมากและมีความถูกต้องของผลการวัดอยู่ในระดับดี เซนเซอร์ชนิดนี้ได้แก่ เทอร์โมคัปเปิ้ล เซนเซอร์วัดอุณหภูมิแบบเทอร์โมคัปเปิ้ล จะมีย่านให้เลือกใช้งานที่หลากหลายมากขึ้นอยู่กับประเภทของโลหะที่นำมาใช้งาน ซึ่งย่านของการวัดของเซนเซอร์แบบเทอร์โมคัปเปิ้ล สามารถเช็คได้จากตารางในส่วนของหลักการใช้งานของเทอร์โมคัปเปิ้ล ซึ่งดังรายละเอียดทั้งหมดที่กล่าวมานี้การนำเอาเทอร์โมคัปเปิ้ลมาประยุกต์ใช้งานจึงเป็นอะไรที่หลากหลาย สามารถใช้งานได้มากมายและนิยมใช้ในอุตสาหกรรมที่ไม่จำเป็นต้องมีความถูกต้องของผลการวัดมากนัก

        ข้อดีของเซนเซอร์วัดอุณหภูมิแบบเทอร์โมคัปเปิ้ล : – มีย่านการวัดที่กว้างมากทำให้ครอบคลุมการวัดทุกย่านที่ต้องการ – สามารถประยุกต์การใช้งานได้หลากหลาย เนื่องจากความซับซ้อนของการทำงานน้อยกว่าเซนเซอร์วัดอุณหภูมิชนิดอื่นๆ

        ข้อเสียของเซนเซอร์วัดอุณหภูมิแบบเทอร์โมคัปเปิ้ล : มีค่าความถูกต้องของผลการวัดไม่ได้สูงมากจึงไม่เหมาะสมกับจุดวัดที่ต้องการความถูกต้องสูง – ไม่เหมาะกับการติดตั้งในกรณีที่ จุดวัด และหน้าจอแสดงผลอยู่ห่างกันมากๆ เนื่องจากจำเป็นต้องใช้สายเทอร์โมคัปเปิ้ลที่เป็นชนิดเดียวกันเท่านั้นในการเชื่อมต่อสาย ทำให้ต้นทุนในการติดตั้งสูงขึ้นไปด้วย

        Key Word : การเลือกใช้เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ, Infrared Thermometer, RTD Sensor, Thermocouple Sensor