Home » บทความเรื่องน่ารู้ » การกำหนดเกณฑ์การตรวจเช็คเครื่องมือวัด

การกำหนดเกณฑ์การตรวจเช็คเครื่องมือวัด

แชร์หน้านี้ Line

        โดยปกติแล้วการกำหนดเกณฑ์การตรวจสอบเช็คเครื่องมือวัดนั้นมีหลัดการที่สำคัญอยู่ 3 หลักการใหญ่ๆ ได้แก่

        1. กำหนดเกณฑ์ของเครื่องมือตามขีดความสามารถของเครื่องมือวัด หรือกำหนดตาม Specification หรือ Accuracy ของเครื่องมือวัด

การกำหนดในรูปแบบนี้เป็นการกำหนดตามหลักโดยทั่วไปของเครื่องมือวัด ซึ่งโดยปกติแล้วเกณฑ์นี้ค่าที่กำหนดไม่ควรเกิน 80% ของเครื่องมือวัด เช่น เกณฑ์การตรวจเช็คเครื่องมือวัดประเภทเครื่องวัดความหนาของชิ้นงาน เครื่อง Wall Thickness มีค่า Specification เท่ากับ ±20 um  การตั้งเกณฑ์การตรวจเช็คเครื่องมือวัดนั้นต้องมีค่าไม่เกิน ±16 um

        2. กำหนดเกณฑ์เครื่องมือวัดจากการอ้างอิงมาตรฐานที่ใช้กับเครื่องมือวัดชนิดนั้น เช่น การสอบเทียบเครื่อง Universal Testing Machine (UTM) โดยที่มาตรฐานที่ใช้งานคือ ISO 7500-1 มีการระบุการจัด Class เครื่องมือวัดเอาไว้ ได้แก่ Class 0.5, 1, 2 และ 3 การกำหนดโดยใช้ Class ของเครื่องมือวัดตามมาตรฐานที่ระบุนี้ สามารถเป็นการกำหนดเกณฑ์การตรวจเช็คเครื่องมือวัดได้ในอีกรูปแบบหนึ่ง 

        3. กำหนดเกณฑ์ของเครื่องมือวัดตามเกณฑ์ของชิ้นงานที่ทดสอบ เช่น เครื่องอบชิ้นงานประเภทชิ้นส่วนรถยนต์ชนิดหนึ่ง อุณหภูมิที่ใช้ในการอบคือ 150 °C ± 3 °C เราสามารถกำหนดเกณฑ์ของการตรวจสอบเครื่องมือวัดไว้ที่ 70% ของค่า ± 3 °C ซึ่งจะเป็น ±2.1 °C เป็นต้น

        จากหลักการการกำหนดเกณฑ์ทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่ามีการกำหนดได้หลากหลายวิธี ซึ่งควรปรับให้สอดคล้องกับสินค้าของทางลูกค้าเอง เพื่อให้ผลการวัดมีความถูกต้องและเป็นประโยชน์แก่สินค้าที่สุด หากลูกค้ามีข้อสงสัยประการใดสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดกับทางบริษัท เอเอ็นพี เมโทรโลยี พรีซิชั่น จำกัดได้ ทางบริษัทยินดีให้คำปรึกษาด้วยทีมงานที่มีความชำนาญในด้านเครื่องมือวัดโดยตรง

        Key word: การกำหนดเกณฑ์เครื่องมือวัด, กำหนดเกณฑ์ตามมาตรฐานสากล, กำหนดเกณฑ์ตามสเป็คของชิ้นงาน, กำหนดเกณฑ์ตามความสามารถของเครื่องมือวัด